วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สารสนเทศและเทคโนโลยี
เพื่ออุัตสาหกรรมการท่องเที่ยว


1. เทคโนโลยีสารสนเทศ 
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 
3. CRS-computer reservation system 
4. GDS-Global Distribution System 
5. Cloud Computing 
6. E-Tourism 
7. Web blog
8.สรุป

สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

Education 
สารสนเทศและเทคโนโลยี
เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

 
































Webblong

Webblog

ป็นเว็บไซต์ที่สามารถเป็นได้หลากหลายอย่างแล้วแต่เจ้าของอยากให้เป็น ตั้งแต่ไดอารีส่วนตัว สถานที่สำหรับใช้ในการทำงานร่วมกัน (collaborative work space) หรือสภากาแฟสำหรับคุยเรื่องการเมือง แหล่งรวมข่าวสารความเป็นไป แหล่งรวมลิงค์ ไปจนถึงสมุดบันทึกความเป็นไปของโลกใบนี้ สรุปก็คือ "Blog" เป็นที่ซึงเราเอาไว้เขียนเรื่องราวที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเรื่องที่เขียนเข้าไปใหม่ จะอยู่ส่วนบนสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม สามารถอ่านเรื่องราวใหม่ๆได้ และยังสามารถที่จะเสนอแนะหรือติชมได้ ในกรณีที่เจ้าของ Blog นั้นๆ อนุญาติ Weblog ทำอะไรได้บ้าง อนุญาติให้ผู้ใช้งานหรือ blogger สามารถโพสรูปภาพ ในรูปแบบ jpeg, gif และ png ได้ สามารถโพสไฟล์ Macromedia Flash (.swf) ได้ และไฟล์มัลติมีเดีย mpeg, mpg, avi, mp3, wma ได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาของต้นเองได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่ง HTML หรือ Javascipt แต่อย่างใด เพราะทูลที่เรานำมาให้ใช้งานนั้น เป็นทูลแบบ WYSIWYG (what you see is what you get) อย่างเช่น ปรับขนาดตัวหนังสือ เปลี่ยนสี ขึ้นย่อหน้า ใส่รูป ด้วยการคลิ้กเมาส์ไปที่ทูลบาร์ต่างๆ เสมือนกับการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปอย่าง Microsoft Word เป็นต้น ประโยชน์ของ Weblog Blog มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดังนี้ บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเวปไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก ที่จริงแล้ว Blog ได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 5 ปีแล้ว แต่เพิ่งจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วงปีที่ผ่านมานี้เอง และได้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับการใช้เว็บไซต์ ตลอดจนมีการประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้คนนับล้านๆทั่วโลกได้มีโอกาสสื่อสาร และติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมี Group Blogs ที่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ blog ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกันสำหรับกลุ่ม คน อย่างเช่น ทีมงาน สมาชิกครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนต่างๆ โดยที่ Group Blogs นี้จะเป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสาร Links และไอเดียต่างๆ ผู้ที่ใช้งาน Blog หรือเจ้าของ Blog เราจะเรียกว่า "Blogger" สามารถเข้าไปอัพเดต blog ของตนเอง ณ ที่ใดก็ได้ที่สามารถเข้าถึง Intenet ได้ โดยไม่แน่ว่าในอนาคต ThaiBlogOnline อาจจะให้เจ้าของ blog สามารถอัพเดต blog ของตนเองผ่านทาง SMS มือถือก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังสามารถโพสรูปภาพ เสียง และวีดีโอไปยัง blog ได้อีกด้วย 
1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง 
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ 
 3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ 
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น 
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้ 
 6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว  
7.โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง

E-Tourism

E-Tourism  



 ในปัจจุบันการท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในต่างประเทศ   ประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวเป็น อันดับต้นๆ  แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้คงไม่มีมีใครคิดจะเดินทางท่องเที่ยว และจากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนี้เองทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่าง หนัก เพราะรายได้หลักของประเทศไทยนั้นมาจากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การท่องเที่ยวของไทยย่อมได้รับผลกระทบเป็น อย่างมาก  อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรก็คือผู้ ประกอบการ  บริษัททัวร์และนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยวยังคงยึดติดอยู่กับการท่องเที่ยว แบบเดิมๆอยู่ นั่นคือการนั่งรอนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาและมุ่งหานักท่องเที่ยวที่พำนัก อยู่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่กลับไม่แสวงหานักท่องเที่ยวจากมุมโลกอื่นเลยทั้ง นี้เพราะผู้ประกอบการในไทยยังไม่เปิดกว้างและก้าวเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต (Internet) เท่าที่ควรหรือยังไม่คุ้นเคยกับระบบที่เรียกว่า E-Tourism
                E-Tourism คือการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การท่อง เที่ยวเป็นเรื่องง่าย  ในปัจจุบัน E-Tourism ไม่ใช่เรื่องแปลกในระดับโลกอีกต่อไปเพราะธุรกิจท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่างๆที่เป็นบริษัทระดับยักษ์ใหญ่ของโลกนั้นต่างใช้ E-Tourism ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นและทำให้การบริการด้าน การท่องเที่ยวเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ตออนไลน์ การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติวิถีการท่องเที่ยวแบบโบราณ โดยเฉพาะ การสืบค้นข้อมูล ข้อหาสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมชั่น รวมถึงวางแผนการเดินทางล่วงหน้า ให้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ และยังสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้น E-Tourism ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่เพราะผู้ประกอบการและบริษัททัวร์ส่วนใหญ่ในไทยนั้น ยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้อินเตอร์เน็ตในการให้บริการด้านการ ท่องเที่ยวอยู่มาก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกรวม 1,000 ล้านคน และ 80% ของคนจำนวนนี้ ใช้อินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว อาทิ แหล่งท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และบริการด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ ตลอดจน การใช้บริการจองผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบ E-Commerce ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  
                นอกจากบริษัททัวร์ของไทยไม่เปิดเข้าหาโลกอินเตอร์เน็ตเท่าที่ควรแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวของไทยประสบปัญหา คือ การที่โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว หรือบริษัททัวร์ขาดความร่วมมือที่ดีต่อกัน จากแนวคิดของ Ronold R.Coase (1937) กล่าวว่า หน่วยผลิตจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีต้นทุนธุรกรรม (Transaction Cost) ซึ่งก็คือ ต้นทุนในการติดต่อกับผู้ผลิตรายอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า หรือบริการของหน่วยผลิต ซึ่งถ้าหากมีต้นทุนทางธุรกรรมในการติดต่อสูงจะทำให้หน่วยผลิต เลือกที่จะผลิตสินค้าหรือบริการด้วยตนเองโดยไม่ติดต่อกับผู้ผลิตรายอื่นๆ จากทฤษฎีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบริษัททัวร์ในประเทศไทยที่ยังขาดความร่วมมือ ต่อกันนั้น ผมเห็นว่ามาจากสาเหตุใหญ่ๆ สองประการ คือ

  • ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลกลุ่มลูกค้า: มาจากการที่หน่วยงานต่างๆมีการปกปิดข้อมูลลูกค้าต่อกัน อาจเนื่องด้วยการเกรงกลัวการสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง เพราะการทราบข้อมูลลูกค้าของคู่แข่ง จะทำให้คู่แข่งเกิดการพัฒนาบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าได้มากขึ้น และนำไปสู่การแย่งลูกค้าระหว่างบริษัทด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าที่เข้ามาท่องเที่ยวต้องเสียเวลาในการติดต่อ โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวแยกกันต่างหาก ทำให้การท่องเที่ยวในประเทศไทยไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร
  • ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของบริการของหน่วยผลิตรายอื่น: เกิดจากการที่ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในประเทศไทยขาดการจัดมาตรฐานที่ดี ทำให้เกิดการขาดความไว้ใจที่จะส่งลูกทัวร์ให้แก่กันและกัน ยกตัวอย่างเช่น บริษัททัวร์รายหนึ่งได้ทำสัญญากับสายการบินA โดยที่ไม่รู้ว่าสายการบินA เป็นสายการบินที่ราคาถูก แต่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวใช้บริการแล้วไม่พอใจกับบริการ ก็จะตำหนิไปยังบริษัททัวร์ ซึ่งทำให้บริษัททัวร์เสียชื่อเสียง ทั้งนี้จากทฤษฎีของ Coase การกระทำเช่นนี้อาจเรียกได้ว่า เป็น สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Contract) เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ผู้ประกอบการอื่นๆทำตามาตรฐานที่ต้องการได้ ซึ่งอาจเกิดจากความจำกัดในการประมวลข้อมูลของคน (Bounded Rationality) เช่น ข้อมูลความรู้ การคาดการณ์ ทำให้หน่วยผลิตไม่สามารถเขียนสัญญาที่สมบูรณ์ (Complete Contract) ได้
            นอกจากนี้อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ E-Tourism ไม่ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเท่าที่ควร ก็คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่เชื่อมั่นในระบบ E-Tourism ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย จากผลสำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่รู้จักเวบไซต์การท่องเที่ยวของไทย  และยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการตัดสินใจเลือกบริษัททัวร์ในการท่องเที่ยว  ซึ่งมีข้อมูลด้านการท่องเที่ยวหรือแพคเกจทัวร์ที่ไม่ชัดเจน  มีความกังวลว่าบริการที่โฆษณากับบริการที่ได้รับจะไม่เหมือนกัน อีกทั้งยังขาดความสะดวกในการซื้อบริการ  ซึ่งพฤติกรรมของลูกค้าเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่สมมาตรของข้อมูล (Asymmetric Information) ระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการการท่องเที่ยวของไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในเมืองไทยถูกเอารัดเอาเปรียบจาก เจ้าของกิจการที่มีข้อมูลมากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
             นอกจากนี้หากมองในแง่ของผู้ผลิตแล้ว E-Tourism ยังทำให้หน่วยผลิตมีต้นทุนทางธุรกรรมถูกลงเพราะ จะทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยผลิตต่างๆ กับลูกค้านักท่องเที่ยว เป็นไปได้ง่ายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่ว่าผู้ประกอบการต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะต้องหันมาให้ความร่วม มือกันในเรื่องข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงการรักษาระดับมาตรฐานการบริการของการท่องเที่ยวไทย ซึ่งผมคิดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นหนึ่งเดียว สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ดีขึ้น และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย
              เมื่อเห็นประโยชน์จาก E-Tourism มากมายขนาดนี้แล้วผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรหันมาสนใจการท่องเที่ยวรูปแบบ ใหม่นี้กันให้มากกว่าเดิม  รับรองว่าหากประเทศไทยเราพัฒนาให้ระบบการท่องเที่ยว E-Tourism ให้ทัดเทียมกับต่างชาติตำแหน่งผู้นำด้านการท่องเที่ยวของโลกก็คงจะไม่ไกล เกินเอื้อมแน่ๆ   
             

Cloud Computing

Cloud Computing

 คือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆเป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของ เวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิส เป็นการทำงานของผู้ใช้คอมพิมเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังระบบซอฟแวร์ของ Could Computing

ตัวอย่าง Youtube โดยสามารถเก็บข้อมูลวิดีโอต่างๆได้ โดยที่ไม่ต้องศึกษาวิธีสร้างระบบสังคม

ออนไลน์ต่างๆ

องค์ประกอบหลักๆของ Cloud Computing

1.Clients ประกอบไปด้วยช่องทางหรืออุปกรณ์ที่ผู้ใช้จะใช้ติดต่อกับ cloud อย่าง โทรศัพท์มือถือ(Smart phone)
2.Services หรือ บริการที่จะให้กับผู้ใช้ โดยจะมีการเรียกใช้งานแบบ real-time ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3.Applications ซึ่งผู้ใช้งานไม่ต้องติดตั้งและ run application ต่างๆบนเครื่องของตนเอง
4.Platform จำเป็นที่จะต้องขึ้นอยู่กับ infrastructure ของ virtual computer ตัวอย่างของ Cloud Platform เช่น Google App Engine และ force.com
5.Storage ข้อมูลต่างๆของผู้ใช้จะถูกเก็บไว้ใน data center โดยไม่ต้องเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานของผู้ใช้เอง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
6.Infrastructure ซึ่งโครงสร้างของ cloud computing จะประกอบไปด้วย Servers,User Interface ที่ผู้ใช้จะใช้ติดต่อกับระบบ,Service Catalog ซึ่งเป็นส่วนที่เก็บรายการของบริการที่สามารถใช้ได้ ,System management ที่จะกำหนด resource ที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ เมื่อมีการร้องขอ service ขึ้น,provisioning services เป็นการจองresource และจัดเตรียมapplication ที่เหมาะสมในการใช้งานให้ และ ส่วนตรวจสอบข้อมูลการใช้งานเพื่อใช้ในการเก็บค่าบริการและข้อมูลสถิติต่างๆ ที่จำเป็น

GDS-Global Distribution System

GDS-Global Distribution System 



คือ ระบบการจัดจำหน่ายทั่วโลก เป็นตัวกลางในการจำหน่ายสินค้าบริการท่องเที่ยวระบบ GDS ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนนการขาย ที่นั่งบนสายการบินและรถเช่า การจองห้องพักโรงแรมหรือรีสอร์ท ตลอดจนสินค้าและบริการอื่นๆในด้านการท่องเที่ยว เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ขายกับผู้ใช้ระบบ ระบบ GDS หลัก ได้แก่ Amadeus, Galileo, SABRE และ World Span
ะบบสำรองที่นั่งของการบินไทย เดิมการบินไทยมีระบบสำรองที่นั่งของตนเอง คือระบบรอยัล (Royal System) โดยในระยะแรก ผู้โดยสารที่ต้องการสำรองที่นั่งต้องติดต่อโดยตรงกับการบินไทย ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนแผนทางการตลาดทำให้เกิดตัวแทนจำหน่าย (Travel Agent) ขึ้น ซึ่งตัวแทนจำหน่ายตั๋วได้เข้ามามีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อที่นั่ง ของสายการบินมากขึ้น จากการสำรวจสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายมียอดสูงถึงร้อยละ 80 ดังนั้นการบินไทยจึงได้ติดตั้งระบบรอยัลให้กับตัวแทนจำหน่าย (Travel Agetn) ในประเทศและประเทศใกล้เคียง ซึ่งการใช้ระบบรอยัลนี้ ทั้งการบินไทย (สำนักงานขายบัตรโดยสาร และสำรองที่นั่ง) และตัวแทนจำหน่ายจะขายได้เฉพาะที่นั่งของเที่ยวการบินไทยเท่านั้น อีกทั้งการขยายเครือข่ายก็เป็นไปได้อย่างจำกัด เนื่องจากมีต้นทุนการพัฒนา และเชื่อมโยงระบบสูง การบินไทยจึงได้ตัดสินใจ เข่าร่วมพันธมิตรกับระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ ( Computerize Reservation System: CRS) ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภาคพื้นยุโรป คือระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ซึ่งมีสายการบินลุฟท์ฮันซ่า แอร์ฟรานซ์ ไอบีเรียและเอสเอเอส เป็นแกนนำในการจัดตั้ง โดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ให้พันธมิตร และร่วมลงทุนในบริษัทการตลาดอะมาดิอุสประจำประเทศไทย (Amadeus Thailand) ซึ่งสามารถดำเนินการในลักษณะเป็นเอกเทศเพิ่มความคล่องตัว และขีดความสามารถ โดยได้สิทธิในการจัดจำหน่ายในประเทศไทย อินโดจีน และพม่า ปัจจุบันการสำรองที่นั่งของการบินไทยทำโดยผ่านทางสำนักงานขายของการบินไทย และผ่านทางตัวแทนจำหน่าย (Travel Agent) กว่าแสนรายทั่วโลก โดยมีสัดส่วนจากการขายผ่านสำนักงานขายของการบินไทยเอง คิดเป็นร้อยละ 40 ในขณะที่การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ 60 สำหรับ ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ขณะนี้สามารถสำรองที่นั่งของเที่ยวบินการบินไทยโดยผ่านระบบ CRS คือ ระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ที่การบินไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งเป็นระบบที่สำนักงานขายของการบินไทยทั่วโลกใช้ ส่วนตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกสามารถสำรองที่นั่งการบินไทยผ่านระบบ CRS เกือบทุกระบบ ทั้งนี้การสำรองที่นั่งผ่านตัวแทนจำหน่าย นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association : IATA) และสายการบินต่าง ๆ ในประเทศไทยได้พยายามผลักดันงานด้านสำรองที่นั่ง และออกบัตรโดยสารให้ดำเนินการโดยตัวแทนจำหน่ายให้มากขึ้น ระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computerize Reservation System: CRS) เกิดจากกลุ่มสายการบินและกลุ่มร่วมกันพัฒนา เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในด้านการจัดจำหน่ายอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการกระจายการขายไปยังตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้ CRS แต่ระบบเพิ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการสำรองที่นั่งสายการบิน อาทิ การจองห้องพักโรงแรม รถเช่า การจองที่นั่งรถไฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า การสำรองที่นั่งแบบเบ็ดเสร็จ (Global Distribution System: GDS) ปัจจุบันทั่วโลกมีระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (CRS) ที่สำคัญดังนี้ 1. ระบบเซเบอร์ (Sabre) ก่อตั้งโดยสารการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ส 2. ระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ก่อตั้งโดยสายการบิน แอร์ฟรานซ์ ลุฟท์ฮันซ่า ไอบีเรีย และเอสเอเอส 3. ระบบอาบาคัส (Abacus) ก่อตั้งโดยสายการบินในเอเซีย คือ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค สิงค์โปร์ แอร์ไลน์ส และมาเลเซีย แอร์ไลน์ส 4. ระบบเวริ์ลสแปน (World Span) ก่อตั้งโดยสายการบิน เดลต้า แอร์ไลน์ นอร์ธเวสต์ และทรานสเวริ์ล แอร์ไลน์ส 5. ระบบกาลิเลโอ (Galileo) ก่อตั้งโดยสายการบิน บริติชแอร์เวย์ และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ 6. ระบบโทปาส (Tapaz) ก่อตั้งโดยรัฐบาลเกาหลี 7. ระบบแอกเซส (Axess) ก่อตั้งโดยสายการบิน เจแปน แอร์ไลน์ส 8. ระบบอินฟินี (Infini) ก่อตั้งโดยสายการบิน ออลนิปปอน แอร์เวย์ ระบบการจัดจำหน่ายทั่วโลก (GDS) เป็นเครือข่ายที่ดำเนินการโดย บริษัท ที่ช่วยให้การทำธุรกรรมอัตโนมัติระหว่างผู้ขายและตัวแทนการจองห้องพักเพื่อ ให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาให้กับผู้บริโภคปลาย GDS สามารถเชื่อมโยงการให้บริการและอัตราการจองห้องพักรวมสินค้าและบริการทั่ว ทั้งสามภาคการท่องเที่ยว: คือการจองสายการบินจองโรงแรมรถเช่าและกิจกรรม GDS จะแตกต่างจากระบบการจองเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นระบบการจองที่ใช้โดยผู้ ผลิตที่เกี่ยวข้อง ลูกค้าหลักของ GDS เป็นตัวแทนการท่องเที่ยว (ทั้งออนไลน์และสำนักงาน based) ที่จะทำให้การสำรองห้องพักในระบบการจองต่างๆดำเนินการโดยผู้ขาย GDS ถือสินค้าคงคลังที่ไม่มีสินค้าคงคลังจะจัดขึ้นในระบบการจองผู้ขายเอง GDS ระบบจะมีการเชื่อมโยงในเวลาจริงกับฐานข้อมูลผู้ขาย ตัวอย่างเช่นเมื่อตัวแทนการท่องเที่ยวขอสำรองห้องพักได้ในการให้บริการของ สายการบินโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ GDS เส้นทางการร้องขอไปยังระบบการจองสายการบินคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ตัวแทนการท่องเที่ยวที่มีการเชื่อมต่อกับ GDS เดียวในการเลือกและจองเที่ยวบินต่างๆ, โรงแรม, กิจกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายทั้งหมดในโลกที่เป็นส่วนหนึ่งของ GDS

CRS-Computer Reservation System

CRS-Computer Reservation System



ระบบ Central Reservation System หรือ CRS นั้น เป็นระบบที่มีศักยภาพที่เหนือกว่า Internet Distribution System ตรงที่สามารถใช้ในการรับจองได้ทั้งแบบ Online และ Offline คือสามารถใช้กับสำนักงานรับจองทางโทรศัพท์ และการสื่อสารทางอื่นๆ ที่มีพนักงานไว้คอยให้บริการได้อีกด้วย
โดยหลักการแล้ว CRS จะเป็นระบบที่ทางโรงแรมนำเอา Room Inventory ของโรงแรมมาใส่ไว้ทั้งหมด และมีการกำหนด Rate Structure หรือ Rate Tier สำหรับขายให้กับทุก Market Segment ช่วยให้สำนักงานตัวแทนในการขายห้องพักที่ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายเข้าไปหาข้อมูล และขายผ่านทางช่องทางต่างๆ ในแนวทางเดียวกันได้ทั่วโลก

ระบบ CRS ที่มีประสิทธิภาพบางระบบ สามารถที่จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ PMS ได้ในลักษณะของการเชื่อมโยงแบบ 2 ทาง กล่าวคือสามารถนำข้อมูลจาก PMS ของทางโรงแรมออกไปใช้งานได้ และสามารถทำการปรับปรุงข้อมูลของระบบ PMS ได้ด้วยเช่นกัน ระบบ CRS ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ PMS ในลักษณะ 2 ทางนี้ จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของพนักงานลงไปได้เป็นอย่างมาก เพราะการทำงานจะเป็นไปในลักษณะของ Single Entry ที่ผู้ทำรายการเพียงครั้งเดียว ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ CRS และ PMS อื่นๆ ก็สามารถนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้งานร่วมกันได้ในทันที

นอกจากนี้ ระบบ CRS ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับ Channel Manager ในการจัดจำหน่ายห้องพักผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายห้องพักออนไลน์อื่นๆ ได้ด้วยเช่น GDS, IDS, OTAs เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจองห้องพักจาก CRS เพียงจุดเดียว และมีเอกภาพในการบริหารจัดการมากขึ้น

ระบบ CRS ที่ดี ควรจะรองรับการทำงานต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

การบริหารการจองห้องพักและราคาค่าห้องพัก :

  • เพิ่ม แก้ไข และยกเลิกการจองห้องพักได้
  • กำหนดราคาค่าห้องพักมาตรฐาน ราคาแพคเกจต่างๆ ราคากรุ๊ป และราคาที่เกิดจากการต่อรอง (Negotiation Rates) สำหรับใช้กับลูกค้าแต่ละรายได้
  • มีตารางราคา (Rate Grid) ไว้ให้เรียกมาดูและนำไปใช้งานได้
  • บริหารคิวผู้ของ (Waitlist) ได้

การบริหารจัดการ Profile ลูกค้า :

  • สามารถติดตามตรวจสอบประวัติลูกค้าที่เป็นสมาชิก หรือลูกค้าเก่าได้
  • มีคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายค่า Commissions สำหรับลูกค้า ตัวแทนจำหน่าย หรือแหล่งที่มาของการจองของลูกค้าแต่ละรายไว้อย่างชัดเจน
  • แสดงประวัติ สถิติการใช้บริการในอดีต และการจองสำหรับการใช้บริการในอนาคตของลูกค้าแต่ละรายได้

การจองแบบหมู่คณะ และการกันห้องไว้เพื่อการจำหน่าย :

  • ควบคุมการจองห้องพักสำหรับหมู่คณะได้
  • บริหารจัดการ Room Alloment และ Cut Off Date/Days ผ่านระบบได้
  • กันห้องพักในลักษณะ Super Group Blocks สำหรับการจองห้องพักแบบหมู่คณะเดียว ในโรงแรมหลายๆ แห่งในระบบเดียวกัน หรือหลายๆ ครั้งที่เข้าพักได้

การจัดการเกี่ยวกับการจอง :

  • Transaction activity by agent and CRO
  • สร้างเอกสารยืนยันการจอง หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งผ่านระบบออนไลน์ หรือทาง แฟกซ์ จากระบบส่งถึงลูกค้าโดยอัตโนมัติ
  • ติดตามตรวจสอบแหล่งที่มาของการจองที่มีราคาที่แตกต่างกันได้

การรายงาน :

  • รายงานคาดการณ์การเข้าพักในแต่ละวัน (Expected Arrivals)
  • รายงานกิจกรรมเกี่ยวกับการจองทั้งหมด (Total Booking Activity)
  • รายงานสรุปกิจกรรมการจองประจำเดือน (Monthly Booking Activity Summary)
  • รายงานสรุปกิจกรรมการจองประจำวัน (Daily Booking Activity Summary)
  • รายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจอง

หมายเหตุ : CRS นั้น บางรายอาจจะหมายความว่า Computerized Reservation System ก็ได้ แต่มีการใช้งานในลักษณะเดียวกัน